วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู



วินัยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู





                  การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
                  1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
                  2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
                  5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
                  6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ 

ประเพณีไทย

                                               ประเพณีรำบูชาพระธาตุพนม
                          
การฟ้อนรำ  การบรรเลงพิณพาทย์  มโหรี  ดนตรีถวายเป็นพุทธบูชาองค์พระธาตุพนม  เป็นประเพณีอันดีงามอย่างหนึ่งของชาวพุทธ  ซึ่งถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านานแล้ว  เช่นในงานนมัสการพระธาตุพนม  และงานฉลองสมโภสในโอกาสพิเศษ  เป็นต้น
พระธาตุพนมเป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพบูชาของคนทั่วไป  เป็นชีวิตจิตใจ  เวลาจะไปทำมาค้าขายในถิ่นอื่น  ไปศึกษาเล่าเรียน  ไปรับราชการ  หรือแม้แต่ไปทำไร่  ทำนา  ทำสวน  ก็ต้องไปกราบไหว้เพื่อขอพรและขอความเป็นสิริมงคล  เพื่อความเจริญก้าวหน้า  และเพื่อความสำเร็จดังปรารถนา
การฟ้องรำบูชาพระธาตุพนม  ถ้าถือตามตำนานแล้วมีมาตั้งแต่สร้างพระธาตุพนมในยุคแรก  คือยุคของพระมหากัสสปะเถระและพญาทั้ง  5  แห่งอาณาจักรศรีโคตรบูร  ในยุคต่อมาก็ได้ปรากฏว่ามีการฟ้อนรำบูชาองค์พระธาตุพนมเช่นเดียวกัน  แต่มิได้กระทำติดต่อกันทุกปี  มูลเหตุของการฟ้อนรำบูชาองค์พระธาตุพนมในอดีตนั้น  สืบเนื่องมาจากพระธาตุพนมเป็นเจดีย์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง  เป็นที่เคารพบูชา  เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธทั้งสองฝั่งโขง  ด้วยแรงศรัทธาผลักดันให้เกิดการเคารพบูชาในลักษณะแตกต่างกัน  ทั้งอามิสบูชาและปฏิบัติบูชา  สำหรับอามิสบูชานั้น  นอกจากจะบูชาด้วยดอกไม้  ธูปเทียน  และถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแล้ว  ยังมีการบรรเลงพิณพาทย์  มโหรี  การแสดงฟ้อนรำบูชาในโอกาสอันควรด้วย  โดยเชื่อว่าการแสดงออกเป็นกุศลและความดีงามอย่างหนึ่ง  ซึ่งเป็นที่ยอมรับของสังคม
จังหวันครพนมได้ริเริ่มฟื้นฟูการรำบูชาพระธาตุพนมขึ้นในปี  พ.ศ.  2530  เป็นต้นมา  โดยจัดให้มีการรำบูชาพระธาตุพนมขึ้นในวันขึ้น  15  ค่ำ  เดือน  11  ภาคเช้า  บริเวณหน้าวัดพระธาตุพนม  และจัดให้มีประเพณีไหลเรือไฟที่จังหวัดนครพนมในตอนกลางคืน
http://welovethatphanom.com/2012-04-04-20-36-00

ประเพณีไทย

             ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ                                   
                          
 ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ แห่ผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การแห่ผ้าผืนยาว ไปบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยการนำขึ้นห่มโอบล้อมรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นประเพณีที่ชาวนครศรีธรรมราชและพุทธศาสนิกชนที่อยู่ในจังหวัดใกล้เคียง ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลายาวนาน

    ความเชื่อ นครศรีธรรมราชรับพระพุทธศาสนามาจากอินเดียและลังกา จึงรับความเชื่อของชาวอินเดียและลังกาเข้ามาด้วย ชาวพุทธในอินเดียเชื่อว่าการทำบุญและการกราบไหว้บูชาที่ให้ได้กุศลจริง จะต้องปฏิบัติต่อพระพักตร์และให้ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าให้มากที่สุดแม้พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วแต่ก็ยังมีสัญลักษณ์ของพระพุทธองค์อยู่ ได้แก่ พระบรมธาตุเจดีย์ พระพุทธรูป เป็นต้น การกราบไหว้บูชาสิ่งเหล่านี้เท่ากับเป็นกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้าโดยตรงเช่นกัน ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อกันมาว่า การนำผ้าไปบูชาพระบรมธาตุเจดีย์ ถือเป็นการบูชาที่ใกล้ชิดกับพระพุทธองค์ ชาวพุทธในนครศรีธรรมราชจากทุกที่จึงมุ่งหมายมาสักการะเมื่อถึงวันดังกล่าว

การละเล่นของไทย

หมากเก็บ
หมากเก็บ
จำนวนผู้เล่น 2 - 4 คน
http://www.patongbeachthailand.com/thai/21_13/683.shtml

วันสำคัญทางศาสนา

 วันมาฆบูชา     
ไม่ทำชั่ว  ทำแต่ความดี  ทำจิตใจให้ผ่องใส
        วันมาฆบูชาเป็นวันที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทสำคัญอันถือได้ว่าเป็นหัวใจของคำสอนในพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาฏิโมกข์ ในวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือนสาม ดวงจันทร์โคจรมาเสวยมาฆฤกษ์ แต่ถ้าปีใดมี อธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันเพ็ญกลางเดือนสี่ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นที่ พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ รัฐมคธ ในปีแรกของการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ คือ หลังจากตรัสรู้แล้วได้ ๙ เดือน    ความประจวบกันพอดีของเหตุการณ์
ในวันนี้ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่อัศจรรย์ มีสี่ประการคือ
        ประการแรก  เป็นการมาชุมนุมกันของพระสงฆ์สาวก จำนวน ๑,๒๕๐ รูป เพื่อเฝ้าพระบรมศาสดา โดยมิได้นัดหมาย
        ประการที่สอง  พระสงฆ์สาวกดังกล่าวล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
        ประการที่สาม  พระสงฆ์สาวกดังกล่าวล้วนแต่ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา
        ประการที่สี่   วันนั้นดวงจันทร์เพ็ญเสวยมาฆฤกษ์เต็มบริบูรณ์
        ความพร้อมกันขององค์สี่ประการจึงเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต
http://www.nkgen.com/maka.htm